การล้างมือ
โรคหลายโรคติดต่อโดยมีมือเป็นตัวนำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย การล้างมือเป็นวิธีการป้องกันโรคติดเชื้อทั้งทางเดินหายใจและการสัมผัส โรคที่ติดต่อและทำให้เสียชีวิตคือ ไข้หวัดมรณะหรือ SARS ไข้หวัดนก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องล้างมืออย่างถูกวิธีหากเราไม่ล้างมือจะเกิดอะไรขึ้น
ท่านอาจจะนำเชื้อที่ติดมือท่านเข้าสู่ร่างกายทาง
• ทางตา
• ทางจมูก
• ทางปาก
โรคที่ติดต่อที่สำคัญและพบบ่อยโดยมีมือเป็นพาหะนำโรคได้แก่ไข้หวัดใหญ่ นอกจากนั้นยังอาจจะนำเชื้อโรคไวรัสตับอักเสบเอ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ท้องร่วง
จะล้างมือเมื่อไร
• หลังการจามหรือไอ หรือไปสัมผัสสารคัดหลั่งของผู้ป่วย
• ก่อนและหลังอาหาร
• ก่อนและหลังการเข้าห้องน้ำ
• ก่อนและหลังการสูบบุหรี่
• ก่อนและหลังการเตรียมอาหาร
• ก่อนและหลังการทำงาน
• เมื่อกลับจากทำงาน
ล้างด้วยอะไร
• สบู่ หรือสบู่เหลว สบู่ก้อนเหมาะสำหรับใช้เป็นการส่วนตัวในบ้าน แต่ในที่สาธารณะควรจะเป็นสบู่เหลว
• หากไม่มีสบู่อาจจะใช้แอลกอฮอล์ หรือไม่แน่ใจในความสะอาดของน้ำ หรือต้องการฆ่าเชื้ออาจจะใช้ยาฆ่าเชื้อซึ่งส่วนใหญ่มีแอลกอฮอลล์เหลวเป็นส่วนผส
• ล้างด้วยนำเปล่าให้น้ำไหลผ่านมือ
วิธีการล้างมือด้วยแอลกอฮอล์
• หากว่าไม่มีน้ำสำหรับล้างมือ
• หรือไม่แน่ใจในความสะอาดของน้ำ
• เราสามารถใช้แอลกอฮอล์ช่วยทำความสะอาดของมือ
• ก่อนอื่นต้องล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า
• เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้า หากไม่แห้ง น้ำจะเจือจางแอลกอฮอล์ทำให้ออกฤทธิ์ไม่ดี
• เมื่อมือแห้งแล้วจึงใช้แอลกอฮอล์ลูบทั้งฝ่ามือ หล้งมือ ซอกนิ้ว ปลายนิ้ว
ใช้แอลกอออล์กับมือเด็กได้หรือไม่
• สามารถใช้กับมือเด็กได้อย่าปลอดภัย คอยระวังอย่าให้เด็กรับประทาน
ข้อควรระวังเกี่ยวกับการล้างมือ
• ผ้าเช็ดมือควรจะใช้สำหรับคนแต่ละคน ไม่ควรใช้ร่วมกัน
• ให้ใช้ผ้าหรือกระดาษที่ใช้ครั้งเดียว
• ไม่ต้องใช้ฟองน้ำ หรือผ้าในการล้างมือ เพราะสิ่งเหล่านั้นอาจจะมีเชื้อโรคอยู่
ข้อแนะนำสำหรับการล้างมือในเด็ก
• ฝึกเด็กให้เป็นนิสัยโดยให้ล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร หลังจากเข้าห้องน้ำ หลังจากเล่น หลังจากสัมผัสสัตว์เลี้ยง หลังจากไอหรือจาม
• ต้องสอนให้เด็กเห็นวิธีการล้างมืออย่างถูกต้อง
ล้างอย่างไร
การล้างมือให้ถูกสุขลักษณะประกอบไปด้วยขั้นตอนใหญ่ๆ 10 ขันตอนขอให้ท่านผู้อ่านได้นำไปปฏิบัติจนเป็นนิสัยและสอนคนใกล้ชิดให้ปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคที่ติดต่อทางมือเช่น ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก โรคซาร์ ขั้นตอนการล้างมือมีดังนี้